แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน
1. โครงการ ส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ บ้านวังร่อง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๔-๔๑๑-๐๑-๐๑
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ อานี
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ประเภทโครงการ
- โครงการพัฒนา
- โครงการวิจัย
- โครงการอบรม/บริการวิชาการ
- กิจกรรมสัมพันธ์
เป้าหมายการพัฒนา
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา
- โครงการผลิตและพัฒนาครู
- โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. พื้นที่ดำเนินโครงการ
บ้านวังร่อง หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
3. ปัญหาของพื้นที่
ชุมชนตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความต้องการที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน อันเนื่องมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงทางสังคม และการลดลงของรายได้ในสถานการณ์ โควิด-19 โดยมีกิจกรรมที่ต้องการแก้ไขปัญหา ได้แก่
1. ต้องการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี
2. การเพิ่มมูลค่า การสานตะกร้าจากไม้ไผ่ และการสานขันโตกจากหวาย
3. การเพิ่มมูลค่าจากผ้าพื้นถิ่นในการตัดเย็บชุดผ้าไทย
4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
4.1 พื้นที่เป้าหมาย ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 240 คน
4.2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มสตรีบ้านวังร่อง และเครือข่ายเยาวชนบ้านวังร่อง จำนวน 30 คน
5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ
–
6. วิธีการดำเนินงาน
6.1 กิจกรรมพัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเยาวชนและประชาชน ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 180 คน
6.2 กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตัดเย็บเสื้อผ้าจากผ้าพื้นถิ่น
กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การตัดเย็บเสื้อผ้า ใช้องค์ความรู้ด้านการการปักผ้า และการปฏิบัติการปักผ้า 6 วัน
กิจกรรมที่ 2 การร่วมพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปัก และสร้างช่องทางการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าปักบ้านวังร่อง 1 วัน
กิจกรรมที่ 3 การสานตะกร้าจากไม้ไผ่การนำองค์ความรู้การสานตะกร้าจากไม้ไผ่มาปฏิบัติการสานตะกร้าจากไม้ไผ่คนละ 2 ใบ
7. ผลการดำเนินงาน
7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม
ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | |||||||
ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) | ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) | ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) | ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) | ||||||
แผน | ผล | แผน | ผล | แผน | ผล | แผน | ผล | ||
เชิงปริมาณ 1) กลุ่มเยาวชนและประชาชนมีกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี 2) การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การตัดเย็บเสื้อผ้า 3) การสานตระกร้าจากไม้ไผ่ | คน คน คน | 2) อบรมให้ความรู้ การปักผ้าและการปฏิบัติการ ปักผ้า | 2) เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า | 1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี | 1) เกิดวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน | 3) อบรมให้ความรู้การสานตะกร้าจาก ไม้ไผ่ | 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตะกร้าไม้ไผ่ | ||
เชิงคุณภาพ 1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ | คน รายได้ ระดับ | 1) จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 100 ครัวเรือน 2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ | 1) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ 3) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข” |
8. ผลการดำเนินงานของโครงการ
8.1 ผลผลิต (output)
1. เกิดวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวนอย่างน้อย 20 คน
2. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า
3. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตะกร้าไม้ไผ่
8.2 ผลลัพธ์ (Output)
1. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชนสร้างสัมพันธภาพอันดี และเกิดการบูรนาการที่ดีระหว่างชุมชนเป้าหมายและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
2. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
3. ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”
8.3 ผลกระทบ (Impact)
1. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวน 20 คน
2. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า และกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา
3. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาแผนการเรียนรู้การสานตะกร้าเพื่อพัฒนาอาชีพ และกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา
8.4 การประเมินผล
- บรรลุ ร้อยละ 100
- ไม่บรรลุ
- ไม่สามารถประเมินผลได้
9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน
1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
10. ปัญหาและอุปสรรค
–
11. ข้อเสนอแนะ
–