โครงการส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ บ้านวังร่อง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน

1. โครงการ ส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ บ้านวังร่อง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

    รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๔-๔๑๑-๐๑-๐๑
    ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ อานี
    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

          ประเภทโครงการ

  • โครงการพัฒนา
  • โครงการวิจัย
  • โครงการอบรม/บริการวิชาการ
  • กิจกรรมสัมพันธ์

เป้าหมายการพัฒนา

  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคม
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา
  • โครงการผลิตและพัฒนาครู
  • โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา

2. พื้นที่ดำเนินโครงการ
    บ้านวังร่อง หมู่ที่ 5  ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์      

3. ปัญหาของพื้นที่
    ชุมชนตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความต้องการที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน อันเนื่องมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงทางสังคม และการลดลงของรายได้ในสถานการณ์ โควิด-19 โดยมีกิจกรรมที่ต้องการแก้ไขปัญหา ได้แก่

1.  ต้องการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี
2.  การเพิ่มมูลค่า การสานตะกร้าจากไม้ไผ่ และการสานขันโตกจากหวาย
3.  การเพิ่มมูลค่าจากผ้าพื้นถิ่นในการตัดเย็บชุดผ้าไทย

4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย

   4.1 พื้นที่เป้าหมาย ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 240 คน
   4.2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มสตรีบ้านวังร่อง และเครือข่ายเยาวชนบ้านวังร่อง จำนวน 30 คน

5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ
    –

6. วิธีการดำเนินงาน
    6.1 กิจกรรมพัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี
          ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเยาวชนและประชาชน ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 180 คน

6.2 กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตัดเย็บเสื้อผ้าจากผ้าพื้นถิ่น

      กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การตัดเย็บเสื้อผ้า ใช้องค์ความรู้ด้านการการปักผ้า  และการปฏิบัติการปักผ้า 6 วัน

    กิจกรรมที่ 2 การร่วมพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปัก และสร้างช่องทางการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าปักบ้านวังร่อง 1 วัน

   กิจกรรมที่ 3 การสานตะกร้าจากไม้ไผ่การนำองค์ความรู้การสานตะกร้าจากไม้ไผ่มาปฏิบัติการสานตะกร้าจากไม้ไผ่คนละ 2 ใบ

7. ผลการดำเนินงาน
   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม

ตัวชี้วัดหน่วยนับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
  ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64)ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65)ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65)ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65)
แผนผลแผนผลแผนผลแผนผล
เชิงปริมาณ 1) กลุ่มเยาวชนและประชาชนมีกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี 2) การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การตัดเย็บเสื้อผ้า 3) การสานตระกร้าจากไม้ไผ่  คน         คน         คน                    2) อบรมให้ความรู้ การปักผ้าและการปฏิบัติการ           ปักผ้า            2) เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี  1) เกิดวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน                            3) อบรมให้ความรู้การสานตะกร้าจาก          ไม้ไผ่                      3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตะกร้าไม้ไผ่
เชิงคุณภาพ 1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ   2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ  คน       รายได้         ระดับ        1) จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 100 ครัวเรือน   2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ1) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ 3) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”

8. ผลการดำเนินงานของโครงการ
    8.1 ผลผลิต (output)

          1. เกิดวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวนอย่างน้อย 20 คน
          2. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า
          3. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตะกร้าไม้ไผ่

    8.2 ผลลัพธ์ (Output)

   1. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชนสร้างสัมพันธภาพอันดี และเกิดการบูรนาการที่ดีระหว่างชุมชนเป้าหมายและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
   2. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
   3.  ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”

    8.3 ผลกระทบ (Impact)

   1. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวน 20 คน
   2. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า และกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา
   3. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาแผนการเรียนรู้การสานตะกร้าเพื่อพัฒนาอาชีพ และกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา

    8.4 การประเมินผล

  • บรรลุ ร้อยละ 100
  • ไม่บรรลุ
  • ไม่สามารถประเมินผลได้

9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน

    1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
    2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

10. ปัญหาและอุปสรรค
      –

11. ข้อเสนอแนะ
      –

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *