โครงการ การพัฒนาระบบการจัดการกิจกรรมกีฬา นันทนาการและทักษะอาชีพในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
รายงานผลการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน

1. โครงการ การพัฒนาระบบการจัดการกิจกรรมกีฬา นันทนาการและทักษะอาชีพในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

    รหัสกิจกรรม 65-102-411-01-02
    ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์วิชญาพร อ่อนปุย
    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ประเภทโครงการ

  • โครงการพัฒนา
  • โครงการวิจัย
  • โครงการอบรม/บริการวิชาการ
  • กิจกรรมสัมพันธ์

เป้าหมายการพัฒนา

  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคม
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา
  • โครงการผลิตและพัฒนาครู
  • โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา

2. พื้นที่ดำเนินโครงการ

    1. โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
    2. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

3. ปัญหาของพื้นที่

              ในปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ได้รับการสนับสนุนในการดำเนินโครงการ เสริมสร้างสุขภาพกีฬา นันทนาการ และอาชีพ ผู้สูงอายุในชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนสูงอายุ) โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์จำนวนทั้งสิ้น 100 คน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีศักยภาพในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุและสามารถ5ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษาสู่การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับชุมชน รวมถึงเป็นโครงการต้นแบบในชุมชนในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ และเพิ่มโอกาสให้กับผู้สูงอายุได้มีงานทำและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผลการดำเนินโครงการ จากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ หลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบ การจัดกิจกรรมกีฬานันทนาการและอาชีพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน พบว่าโดยภาพรวมทั้งหมดมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจากผลการประเมินโครงการโดยนักเรียน (ผู้สูงอายุ) ตัวแทนชุมชน ครูใหญ่และครูในโรงเรียน นักพัฒนาชุมชนพบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในกิจกรรม โดย ระบุว่าการอบรมในครั้งนี้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ได้ออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด ได้สนุกสนานกับการร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย การเล่นเกมแปลกใหม่ การสร้างผลิตภัณฑ์ พวงกุญแจผ้ามุข กระเป๋าผ้ามุข และงานกระดาษ และเพิ่มพลังความสามัคคี ทั้งนี้สิ่งที่จะพัฒนาต่อไปคือ การนำกิจกรรมมาพัฒนาต่อเนื่องให้เกิดความชำนาญในกิจกรรม และจะนำไปประกอบเป็นอาชีพ อดิเรก การขายตามท้องตลาด ถ่ายทอดการประดิษฐ์นี้ให้กับลูกหลานและจะร่วมกันผลิตเพื่อถวายวัดและเก็บไว้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม ศึกษาดูงานภายในโรงเรียนต่อไปแต่เนื่องด้วยระบวนการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา มีระยะเวลาจำกัด ประกอบการเผชิญสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ ดังนั้นในการดำเนินโครงการครั้งนี้ผู้ดำเนินโครงการจะดำเนินการพัฒนาระบบการดำเนินกิจกรรมให้ชัดเจนมากขึ้นโดย จัดระบบการดำเนินกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เดิมให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยนักเรียน (ผู้สูงอายุ) สอน นักเรียน (ผู้สูงอายุ) เองจนเกิดความชำนาญ และกำหนดเป็นระบบการเรียนของหลักสูตรในโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมถึงเดิมมีการสร้างตราสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์แต่ยังมิได้ดำเนินการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์นำไปสู่การส่งผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของชุมชน (ชมรมผู้สูงวัย) โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย)สหกรณ์ ชมรมผู้สูงอายุและการสร้างแหล่งในการจำหน่ายสินค้า ภายในโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัย (ผู้สูงวัย) ซึ่งจะมีการจำหน่ายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยว และคณะศึกษาดูงานตลอดทั้งปี ซึ่งคาดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจะเสริมสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ ด้วยกิจกรรมกีฬา นันทนาการ ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม สามารถตระหนักถึงคุณค่า และศักยภาพของตนเอง นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบนำไปสู่การสร้างอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืน

          ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย

1. ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ และสามารถนำผลิตภัณฑ์ ไปจัดจำหน่ายได้
2. ต้องการจัดกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย
3. ต้องการพัฒนาระบบการดำเนินกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้
5. การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยตามกรอบ PA โดยใช้แหล่งเรียนรู้

4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
    นักเรียน (ผู้สูงอายุ) โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5

5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ
    นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 คน

6. วิธีการดำเนินงาน
    6.1 การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ด้านรายได้ในปัจจุบัน การประกอบอาชีพ

          1 ) ลงพื้นที่ ติดต่อประสานหน่วยงานของกลุ่มเป้าหมาย
          2) ดำเนินการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย
          3) การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลเพื่อ กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม

6.2 กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพกีฬา และนันทนาการ

      1) การฝึกสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย
      2) เพื่อนสอนเพื่อน(ผู้สูงอายุ)

6.3 กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ ทบทวนกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น

       1) ฝึกทักษะการสร้าง ผลิตภัณฑ์ 4 รูปแบบ ได้แก่
           1.1 ฝึกการผลิตกระเป๋าจากผ้ามุก
           1.2 ฝึกการผลิตพวงกุญแจ
           1.3 ฝึกการผลิตดอกไม้กระดาษ (ชบา)
           1.4 ฝึกการผลิตดอกไม้กระดาษ (กุหลาบ)
       2) ฝึกสร้าง แพคเกจจิ้ง (Packaging Design)

6.4 กิจกรรมการวางแผนเพื่อจัดจำหน่าย กระจายสินค้าสู่ชุมชน

      การประสาน งานร่วมกับสหกรณ์ชุมชน ตำบลบ้านติ้ว จัดตั้งเพื่อจำหน่ายในโรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ชมรมแม่บ้านและแหล่งที่มีอยู่ในชุมชน และนอกชุมชน

7. ผลการดำเนินงาน
   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม

ตัวชี้วัดหน่วยนับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
  ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64)ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65)ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65)ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65)
แผนผลแผนผลแผนผลแผนผล
เชิงปริมาณ 1) การฝึกสร้างผลิตภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพกีฬา และนันทนาการ เพื่อจัดจำหน่าย   2) การสร้างองค์ความรู้ ทบทวนกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น                   3) มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์  คน             ผลิต ภัณฑ์                     แห่ง                                            1) ปฏิบัติ กิจกรรมการ สร้างผลิตภัณฑ์           2) ฝึกปฏิบัติ การสร้างผลิตภัณฑ์ตาม รูปแบบ                 3) จัดตั้งศูนย์จัดจำหน่าย สินค้าของ โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย)1) กลุ่มเป้าหมายฝึกการเป็น ผู้นำผู้ตามในการจัดกิจกรรม เพื่อ ส่งเสริมสุขภาพ กีฬา นันทนาการ     2) ได้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 ชนิด 1. กระเป๋าจากผ้ามุก 2. พวงกุญแจ 3. ดอกไม้กระดาษ (ชบา) 4. ดอกไม้กระดาษ (กุหลาบ)       3) เกิดแหล่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ สร้างขึ้นภายในโรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย)  
เชิงคุณภาพ 1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ       2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10   3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ  คน         รายได้           ระดับ        1) จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ      1) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10       3) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับดี         


8. ผลการดำเนินงานของโครงการ
    8.1 ผลผลิต (output)
          1. กลุ่มเป้าหมายฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามในการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมสุขภาพ กีฬา นันทนาการ
          2. ได้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 ชนิด 1. กระเป๋าจากผ้ามุก 2. พวงกุญแจ 3. ดอกไม้กระดาษ (ชบา) 4. ดอกไม้กระดาษ (กุหลาบ 
          3. เกิดแหล่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นภายในโรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย)
  8.2 ผลลัพธ์ (Output)
          1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
          2. ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”
         3. โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ได้ระบบการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนอย่างยั่งยืน
         4. โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) เป็นศูนย์รวมการส่งเสริม สุขภาพ กีฬา นันทนาการ ที่มั่นคงและยั่งยืน
  8.3 ผลกระทบ (Impact)
         โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชมรมผู้สูงอายุ ที่มีเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ผ่านกระบวนการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เรียบร้อย 

  8.4 การประเมินผล

  • บรรลุ ร้อยละ 100
  • ไม่บรรลุ
  • ไม่สามารถประเมินผลได้

9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน

    1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
    2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

10. ปัญหาและอุปสรรค
      –

11. ข้อเสนอแนะ
      –

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *