มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
รายงานผลการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน
1. โครงการ ส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับชุมชนบ้านยางสามต้น โดยใช้บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)
รหัสกิจกรรม 65-102-411-01-01
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.แขก บุญมาทัน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ประเภทโครงการ
- โครงการพัฒนา
- โครงการวิจัย
- โครงการอบรม/บริการวิชาการ
- กิจกรรมสัมพันธ์
เป้าหมายการพัฒนา
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา
- โครงการผลิตและพัฒนาครู
- โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. พื้นที่ดำเนินโครงการ
หมู่ที่ 2 บ้านยางสามต้น ต.หนองพระ อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร
3. ปัญหาของพื้นที่
บ้านยางสามต้นเป็นหมู่ที่ 2 ของต.หนองพระ อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร อาชีพประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง สวนมะม่วง สวนมะนาว ปลูกแตงโม ปลูกพริก ปลูกผัก ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง และอื่น ๆบ้านยางสามต้น หมู่ที่ 2 เป็นหมู่บ้านที่มีเส้นทางสายหลัก (กรุงเทพ- พิษณุโลก) ตัดผ่าน ทำให้การคมนาคมสะดวก เข้าถึงได้ง่าย หากแต่ลักษณะของชุมชนยังเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีรายได้ต่อปีอยู่ระหว่าง 1 หมื่น – 5 หมื่นบาท แรงงานในวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่ยังเข้าไปหางานทำในเมื่องใหญ่ ส่งผลต่อครอบครัว ที่มีลักษณะครอบครัวยากจนและครอบครัวแหว่งกลาง คือรุ่นปู่ย่าตายายอยู่กับรุ่นหลานบ้านยางสามต้นมีวัดไตรยางค์วนาราม (วัดยางสามต้น) ซึ่งถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของตำบลหนองพระ และสาธารณชน นอกจากนั้นทางวัดยังเป็นศูนย์รวมกิจกรรมกวนข้าวทิพย์ อันเป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ซึ่งจัดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ของทุกปี และต้องใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาบ้านยางสามต้น มีสถานศึกษาที่อยู่ในหมู่บ้านคือ โรงเรียนบ้านยางสามต้น ที่เป็นสถานศึกษาขนาดกลาง มีครู จำนวน 9 ท่าน (รวมผู้บริหาร) นักเรียนจำนวน 122 คน จัดการศึกษาในระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งบุคลากรของโรงเรียนมาจากต่างถิ่น จากสภาพชุมชนข้างต้นสรุปว่า คนในชุมชนมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ ส่วนวัดก็ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาโดยขอเรี่ยไรหรือบริจาคเงินเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมจากชาวบ้าน และโรงเรียนก็จัดการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ อย่างไรก็ตามคนในชุมชนบ้านยางสามต้นมีลักษณะเด่น คือ ทำอาหารทั้งอาหารคาว หวาน อร่อยเป็นที่ติดใจผู้คนที่ได้มีโอกาสลิ้มลอง ด้วยลักษณะเด่นนี้ผนวกกับรายได้ที่เล็กน้อย จึงยังไม่สามารถบริจาคเงินที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางศาสนาของวัดได้ คนในชุมชนบางส่วนและแม่ขาวจึงคิด กวนกระยาศารทขายเพื่อหาเงินเข้าวัด เพื่อให้วัดสามารถดำเนินกิจกรรมได้โดยไม่ต้องอาศัยเงินบริจาคของชาวบ้าน และเมื่อดำเนินการกวนกระยาสารทขายพบว่า วัดมีเงินใช้จ่ายตามกิจกรรมของวัดโดยไม่รบกวนเงินจากชาวบ้าน ดังนั้นทางวัด จึงร่วมกับผู้มีจิตสาธารณะกวนกระยาสารทขายทุกวันทางออนไลน์และออนไซด์เรื่อยมาจนปัจจุบันแม้มีการดำเนินการกวนกระยาสารทขายเพื่อลดภาระของชุมชน และวัดก็มีงบประมาณในการจัดกิจกรรม หากแต่การกวนกระยาสารทยังเป็นการกวนโดยใช้ภูมิความรู้ของคนในชุมชน ที่ถ่ายทอดให้กับผู้คนที่มีจิตสาธารณะที่ไปช่วยกวน ยังไม่มีการจัดระบบองค์ความรู้ หรือพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน หรือการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เกิดขยะที่ทางวัดต้องบริหารจัดการ การจัดทำบัญชีและการตลาดและที่สำคัญประการหนึ่งคือยังไม่มีการมีส่วนร่วมของโรงเรียนในรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้เกิดความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับชุมชนบ้านยางสามต้น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์จึงต้องการเข้าไปดำเนินการพัฒนาโดยใช้บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)โดยมีหลักคิดในการพัฒนาบ้าน และวัดเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน ดังนั้นจึงต้องพัฒนาคนในชุมชน ผลิตภัณฑ์ และสถานที่ รวมทั้งพัฒนาครูเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ กล่าวคือเป็นการพัฒนา ความรัก สามัคคีของบุคคล 3 กลุ่ม คือ บ้าน/ชุนชน วัด และโรงเรียน อันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการยกระดับรายได้ให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนจัดตั้งให้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกันของบ้าน วัด โรงเรียน ผ่านกระบวนการพัฒนาตามความต้องการของชุมชน และการประเมินตนเองทั้งก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี ยุทธศาตสร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคมและด้านการศึกษา รวมทั้งนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม BCGทั้ง 3 ด้านคือ ด้าน Bio Economy ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้าน Circular Economy ออกแบบการผลิตตั้งแต่ต้นทาง ด้าน Green Economy ลดการสร้างขยะ ซึ่งล้วนส่งผลต่อความรักสามัคคีในชุมชนอย่างยั่งยืน
จากการลงพื้นที่ ในวันที่ 28 ธันวาคม 2564 และทำการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ราย สรุปข้อมูลความต้องการทั้งในส่วนพื้นที่ของชุมชน และโรงเรียน ดังนี้
1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระยาสารทอย่างหลากหลายให้เป็นที่ต้องการของตลาด
2. การทำบัญชี
3. การยกระดับกิจกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้
4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้
5. การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยตามกรอบ PA โดยใช้แหล่งเรียนรู้
4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
4.1 คนในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านยางสามต้น ต.หนองพระ อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร จำนวน 30 คน
4.2 พระสงฆ์วัดไตรยางค์วนาราม จำนวน 3 รูป
4.3 คณะครูที่จัดการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านยางสามต้น จำนวน 8 คน
4.4 นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านยางสามต้น จำนวน 10 คน
5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ
–
6. วิธีการดำเนินงาน
6.1 กิจกรรมรู้จักตัวตนเพื่อกำหนดทิศทางตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1 ) การนำเสนอผลงานและประเมินรายได้และวัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมาย
2) เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป้าหมายและออกแบบกิจกรรม
6.2 กิจกรรมเรียนรู้เพิ่มเติมแต่ง
1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระยาสารทให้เป็นที่ต้องการของตลาดและการจัดการขยะ
2) การทำบัญชี
3) การยกระดับกิจกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้
4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้
5) การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและการวิจัยตามกรอบ PA
6.3 กิจกรรมการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้
1) การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้
2) การจัดการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้
6.4 กิจกรรมการถอดบทเรียนและการกำหนดเป้าหมายร่วม
1) การถอดบทเรียนเพื่อชื่นชมความสำเร็จและระวังจุดเสี่ยง
2) การศึกษารายได้และวัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมาย
3) การกำหนดเป้าหมายร่วมเพื่อความยั่งยืน
7. ผลการดำเนินงาน
7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม
ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | |||||||
ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) | ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) | ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) | ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) | ||||||
แผน | ผล | แผน | ผล | แผน | ผล | แผน | ผล | ||
เชิงปริมาณ | |||||||||
1) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | คน | 1) ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | 1) คนในชุมชน จำนวน 30 คน 2. พระสงฆ์ จำนวน 3 รูป 3. ครูในโรงเรียนบ้านยางสามต้นจำนวน 8 คน มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | ||||||
2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระยาสารทให้เป็นที่ต้องการของตลาด | ผลิต ภัณฑ์ | 2) เรียนรู้และปฏิบัติการทำกระยาสารท | 2) ได้กระยาสารทสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 สูตร ขึ้นไป | ||||||
3) การทำบัญชี | คน | 3) อบรมการทำบัญชีครัวเรือน | 3) คนในชุมชนได้มีบัญชีรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน | ||||||
4) การยกระดับกิจกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ | แห่ง | 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบแหล่งเรียนรู้ | 4) ชุมชนได้แหล่งเรียนรู้ จำนวน 1 แห่ง | ||||||
5) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ | รูป แบบ | 5) ปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยตามกรอบ PA | 5) ครูมีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ | ||||||
เชิงคุณภาพ | ” | ||||||||
1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ | คน | 1) จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ | 1) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 | ||||||
2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 | รายได้ | 2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 | 2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 | ||||||
3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ | ระดับ | 3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ | 3) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข |
8. ผลการดำเนินงานของโครงการ
8.1 ผลผลิต (output)
1. เกิดกระยาสารทสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 สูตร ขึ้นไป
2. เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 1 แห่ง
3. เกิดรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิจัยตามกรอบ PA เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้
8.2 ผลลัพธ์ (Output)
1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”
3. มีต้นแบบ/รูปแบบ/วิธีการส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชน วัดและโรงเรียนในระดับหมู่บ้าน
8.3 ผลกระทบ (Impact)
1. ครูมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้และได้รับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง
2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ และเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
8.4 การประเมินผล
- บรรลุ ร้อยละ 100
- ไม่บรรลุ
- ไม่สามารถประเมินผลได้
9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน
1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
10. ปัญหาและอุปสรรค
–
11. ข้อเสนอแนะ
–