แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน
1. โครงการ ส่งเสริมความรักความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยการพัฒนามาตรฐานการผลิตขั้นต้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กลุ่มนาแปลงใหญ่ หมู่ 3 ตำบล สามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๓-๔๑๑-๐๑-๐๒
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ประเภทโครงการ
- โครงการพัฒนา
- โครงการวิจัย
- โครงการอบรม/บริการวิชาการ
- กิจกรรมสัมพันธ์
เป้าหมายการพัฒนา
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา
- โครงการผลิตและพัฒนาครู
- โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. พื้นที่ดำเนินโครงการ
นาแปลงใหญ่ หมู่ 3 ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
3. ปัญหาของพื้นที่
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ ม.๓ ต.สามง่าม เป็นกลุ่มเกษตรกรที่รวมกลุ่มการผลิตข้าวในพื้นที่ โดยมีสมาชิกในกลุ่มประมาณ 40 ครัวเรือน มีพื้นที่โดยรวมประมาณเกือบ 400 ไร่ โดยในกลุ่มนาแปลงใหญ่จะมีทั้งกลุ่มปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีทั่วไป และกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ซึ่งมีประมาณ 16 ครัวเรือน พื้นที่รวมประมาณ 250 ไร่ โดยบางรายอาจอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน ในด้านการผลิตข้าวของกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพต่าง ๆ ไว้ใช้เอง แต่เกษตรกรยังขาดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากทางสำนักงานเกษตรจังหวัด เช่น เครื่องสีข้าว รถไถ เครื่องสับวัสดุทางการเกษตร และเครื่องอัดฟาง เป็นต้น แต่ยังไม่มีเครื่องอัดเม็ดและความรู้เรื่องเทคโนโลยีการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จึงทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาแปลงใหญ่ และยังขาดความรู้เรื่องการผลิตและการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือน ซึ่งถือว่าเป็นอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง ส่วนด้านผลผลิตข้าวของกลุ่มส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับโรงสีในราคาถูกเพราะโดนกดราคาจากโรงสีใหญ่ๆ โดยผลผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกในกลุ่มจะมีสต็อกข้าวเปลือกเก็บเองในแต่ละครัวเรือนเพื่อรอสีและจำหน่ายทั้งปี โดยไม่ได้รวมกลุ่มกันจำหน่าย เป็นการจำหน่ายเองของแต่ละครัวเรือน ส่วนราคาขายจะได้ราคาเดียวกับข้าวที่ปลูกโดยใช้สารเคมีทั่วไป เพราะยังไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน ไม่มีช่องทางการขาย ไม่มีห้องบรรจุภัณฑ์ได้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และไม่มีการตรวจสอบคุณภาพข้าวที่จะสามารถแข่งขันทางการตลาดได้ อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ข้าวที่สวยงามและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถแข่งขันทางการตลาด จากข้อมูลเบื้องต้นเกษตรกรจึงต้องการให้เข้ามาช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มนาแปลงใหญ่ เพราะในด้านการผลิตของกลุ่มได้รับการรับรองมาตรฐานเป็น Organic Thailand แล้ว แต่ยังขาดการสนับสนุนและพัฒนาในเรื่องดังกล่าวข้างต้น ทำให้การผลิตจึงยังไม่ครบวงจรตามระบบของการผลิตที่ได้มาตรฐาน และต้องการการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของลูกค้า ช่องทางการขายในกลุ่มนาแปลงใหญ่ในปัจจุบันเป็นเพียงการขายข้าวอินทรีย์ให้กับคนที่รู้จักเท่านั้น ทางกลุ่มได้นำผลผลิตไปวางขายตามร้านขายสินค้า (ออฟไลน์) แต่ขายได้ไม่ดี และราคาสู้ผลผลิตจากโรงสีใหญ่ๆ ไม่ได้ ส่วนการขายในรูปแบบออนไลน์ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่มีความรู้เรื่องตลาดออนไลน์หรือการขายบน platforms Marketplace ต่าง ๆ แต่อย่างใด จึงต้องการให้ดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องการทำตลาดออนไลน์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย
1. การลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
2. การพัฒนาห้องบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐาน GMP
3. การตรวจสอบคุณภาพผลผลิต เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า
4. การสร้างแบรนด์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
5. การส่งเสริมการทำตลาดออนไลน์
4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ (เกษตรอินทรีย์) จำนวน 16 ครัวเรือนพื้นที่นาข้าว 250 ไร่
5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ
–
6. วิธีการดำเนินงาน
6.1 การสร้างตราสินค้า และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
กิจกรรมที่ 1 การสร้างตราสินค้า เครื่องหมายการค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
6.2 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หลักปฏิบัติในการผลิต”ข้าวอินทรีย์”ให้ได้มาตรฐานสากล, มาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์, การตรวจประเมินข้าวในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน Primary GMP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ : GMP ในสถานประกอบการ
กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หลักปฏิบัติในการผลิต”ข้าวอินทรีย์”ให้ได้มาตรฐานสากล
กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดองค์ความรู้ มาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ และการตรวจประเมินข้าวในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน
กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดองค์ความรู้ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ : GMP ในสถานประกอบการ
6.3 การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนและเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สำหรับแปลงนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบรรยายและปฏิบัติการ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมบรรยายและปฏิบัติการ การผลิตสารชีวภัณฑ์และการใช้สารชีวภัณฑ์ในนาข้าว
6.4 การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยการตลาดออนไลน์
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักการการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์การขายของออนไลน์ การออกแบบสื่อการตลาด การทำวีดีโอส่งเสริมการขายเทคนิคการตกแต่งภาพ การสร้างคอนเทนต์
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดออนไลน์ การสร้าง Facebook fanpage, Line Official Accout, การนำสินค้าลง platforms Marketplace ต่างๆและการทำโฆษณาออนไลน์
7. ผลการดำเนินงาน
7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม
ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | |||||||
ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) | ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) | ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) | ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) | ||||||
แผน | ผล | แผน | ผล | แผน | ผล | แผน | ผล | ||
เชิงปริมาณ 1) การสร้างตราสินค้า เครื่องหมายการค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน 3) การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยการตลาดออนไลน์ | ตราสินค้า สายพันธุ์ไส้ เดือน ช่อง ทาง การจำ หน่าย | 1) การสร้างตราสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตข้าว 2) การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 3) การพัฒนาตลาดออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน | 1) ได้ตราสินค้าสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์โดยมีชื่อโลโก้ว่า”อินทรีย์สามง่าม 2) เกษตรกรได้สายพันธุ์ไส้เดือนไปเลี้ยงเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน 3) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์บน Facebook fanpage |
เชิงคุณภาพ 1. รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 3) การบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ | คน ระดับ หน่วยงาน | 1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2) ดัชนีชี้ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของสมาชิกก่อนเข้าร่วมโครงการมีค่าเท่ากับ ๗๐.๔๕ 3) การจัดประชุมเพื่อกำหนดกิจกรรม ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐ และประชาชน | 1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 – 20 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ 2) ดัชนีชี้ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของสมาชิกหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าเท่ากับ ๘๑.๖๘ 3) เกิดความร่วมมือสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ๒. สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ๓. สำนักงานเกษตรอำเภอ สามง่าม |
8. ผลการดำเนินงานของโครงการ
8.1 ผลผลิต (output)
1. เกษตรมีผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิต Organic Thailand และได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ (Product certification) หรือข้าวสาร Q ที่สามารถแข่งขันทางการตลาดได้ ส่งผลให้ข้าวอินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ทำให้รายได้ครัวเรือนของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น
2. เกษตรกรมีช่องทางการขายสินค้าของกลุ่มและของตนเอง สามารถขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ และมีสินค้าวางขายบน Platforms Marketplace เช่น Shopee ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น
3. เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในแปลงนาอินทรีย์ของตนเองได้ ลดการซื้อปุ๋ยลงทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ไม่มีการใช้สารเคมี เป็นการปลูกข้าวอินทรีย์อย่างแท้จริงเป็นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลดีต่อสุขภาพ และมีเกษตรกรที่หันมาปลูกข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
8.2 ผลลัพธ์ (Output)
1. รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. ผลการประเมินดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น
3. การดำเนินการแบบเกษตรอินทรีย์เกิดขยายตัวมากขึ้น เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งด้านการผลิตและด้านการตลาด ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้การดำเนินงานของกลุ่มเกิดความยั่งยืนขึ้น
8.3 ผลกระทบ (Impact)
- กิจกรรม การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน
การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน ได้นำงานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบวัสดุรองพื้นที่ใช้ในการเลี้ยงไส้เดือนที่แตกต่างกันต่อการผลิตมูลไส้เดือนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2556 และงานวิจัยเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2559 มาบูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่องค์ความรู้ทางวิชาการที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังได้บูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดการของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์มาใช้ในกิจกรรมโครงการ โดยได้นำนักศึกษาไปเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานในโครงการ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร ช่วยฝึกสอนแนะนำเกษตรกร หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมโครงการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ที่เป็นคำถามจากเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการวัสดุทางการเกษตรบางชนิด และได้นำมาศึกษาทดลองวิธีการเตรียมวัสดุทางการเกษตรให้เหมาะสมกับการนำมาเลี้ยงไส้เดือนเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมต่อไป
๒) กิจกรรม เทคโนโลยีชีวภัณฑ์สำหรับแปลงนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่
เทคโนโลยีชีวภัณฑ์สำหรับแปลงนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ ได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับสารชีวภัณฑ์และการใช้สารชีวภัณฑ์ในนาข้าวมาอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ตั้งแต่กระบวนการผลิตสารชีวภัณฑ์และการใช้ประโยชน์ โดยสารชีวภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ใช้ในการควบคุมศัตรูพืช ได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ ในที่นี้จะพูดถึงเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อรา 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อรากำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชคือ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช คือ เชื้อราบิวเวอเรีย และเชื้อราเมตตาไรเซี่ยม ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยม และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เชื้อราดังกล่าวมีคุณสมบัติเหมือนสารเคมี ในการกำจัดโรคพืชและแมลงศัตรูพืชหลายชนิด แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และไม่มีฤทธิ์ตกค้างในสิ่งแวดล้อมเหมือนสารเคมี และที่สำคัญเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ เพราะเกษตรกรสามารถผลิตขยายใช้เองได้ และเชื้อจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเมื่อใช้แล้วสามารถขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติไม่ต้อง ใช้บ่อยเหมือนสารเคมี
8.4 การประเมินผล
- บรรลุ ร้อยละ 100
- ไม่บรรลุ
- ไม่สามารถประเมินผลได้
9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน
1. สำรวจข้อมูลรายได้ก่อนการดำเนินโครงการ และหลังจากที่ได้ผลิตภัณฑ์ข้าวในรูปแบบ Organic Thailand เมื่อจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว ทำให้ยอดขายหรือรายได้ เพิ่มขี้นร้อยละเท่าไร
2. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ก่อนและหลังดำเนินโครงการ
10. ปัญหาและอุปสรรค
–
11. ข้อเสนอแนะ
–