แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน
1. โครงการ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๔-๔๑๑-๐๑-๐๒
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สนใจ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ประเภทโครงการ
- โครงการพัฒนา
- โครงการวิจัย
- โครงการอบรม/บริการวิชาการ
- กิจกรรมสัมพันธ์
เป้าหมายการพัฒนา
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม
- โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา
- โครงการผลิตและพัฒนาครู
- โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. พื้นที่ดำเนินโครงการ
หมู่ที่ 3 ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
3. ปัญหาของพื้นที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์น้อมนำพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด โดยการดำเนินโครงการส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ ประจำปี 2565 และเนื่องด้วยจากรายงานสำรวจความต้องการในการับบริการวิชาการประจำปีการศึกษา 2564 โดยคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระบุว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความต้องการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน อันเนื่องมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงทางสังคม และการลดลงของรายได้ในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการเป็นอย่างดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงได้เลือกเป็นพื้นที่เป้าหมาย คือ หมู่ที่ 3 ตำบล บางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย
1. ต้องการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี
2. ต้องการสร้างกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำตะกร้าสาน
3. ต้องการสร้างหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์การทำตะกร้าสาน
4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มแม่บ้าน และเครือข่ายเยาวชน ตำบลบางมูลนาก จำนวน ๓00 คน
5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ
–
6. วิธีการดำเนินงาน
6.1 กระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี
กิจกรรมการพัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี
6.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปักและการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์กระเป๋าสาน
กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปัก
กิจกรรมที่ 2 การร่วมพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปัก
7. ผลการดำเนินงาน
7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม
8. ผลการดำเนินงานของโครงการ
8.1 ผลผลิต (output)
1. ผลิตภัณฑ์จากกระเป๋าสานจากเส้นพลาสติก
8.2 ผลลัพธ์ (Output)
1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”
8.3 ผลกระทบ (Impact)
1. องค์การบริหารส่วนตำบลภูมิ พัฒนาเยาวชนเป็นวิทยากรกระบวนการจิตอาสารู้รักสามัคคีจำนวน 20 คน
2. องค์การบริหารส่วนตำบลภูมินำเนื้อหาการอบรมเชิงปฏิบัติการณ์การสานตะกร้า เพื่อจัดอบรมผู้สูงอายุ
8.4 การประเมินผล
- บรรลุ ร้อยละ 100
- ไม่บรรลุ
- ไม่สามารถประเมินผลได้
9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน
1. เก็บข้อมูลผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ตามแนวทางของกรมพัฒนาชุมชน ก่อนและหลังดำเนินโครงการ
2. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ก่อนและหลังดำเนินโครงการ
10. ปัญหาและอุปสรรค
–
11. ข้อเสนอแนะ
–