โครงการ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน

1. โครงการ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก หมู่ ๗ ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

    รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๓-๔๑๑-๐๑-๐๑
    ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์หทัยนุช จันทร์ชัยภูมิ
    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

 ประเภทโครงการ

  • โครงการพัฒนา
  • โครงการวิจัย
  • โครงการอบรม/บริการวิชาการ
  • กิจกรรมสัมพันธ์

เป้าหมายการพัฒนา

  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคม
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม
  • โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา
  • โครงการผลิตและพัฒนาครู
  • โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา

2. พื้นที่ดำเนินโครงการ
    2.1 หมู่ ๗ ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์

3. ปัญหาของพื้นที่
ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 111  ครัวเรือน รายได้เฉลี่ยบุคคล  59,334 บาท/คน/ปี รายได้เฉลี่ยครัวเรือน 214,334 บาท/ครัวเรือน/ปี  และระดับความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) เท่ากับ 4.96

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ พบว่ามีครัวเรือนที่ทำอาชีพการเกษตร 85 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 76.57 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน ซึ่งมีรายได้เฉลี่ย 100,000 บาท/ปี/ครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วยการทำนา จำนวน 62  ครัวเรือน ปลูกพืชอายุยาว (ปลูกมากอันดับหนึ่ง คือ ยาสูบ) จำนวน  22  ครัวเรือน ทำสวนผลไม้ (ปลูกมากอันดับหนึ่ง คือ ชมพู่) จำนวน 11 ครัวเรือน ทำสวนผัก(ปลูกมากอันดับหนึ่ง คือ พริก) จำนวน 21 ครัวเรือน แต่ไม่มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ

ด้านสุขภาวะอนามัย พบว่าไม่มีปัญหา เนื่องจากไปรับบริการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลส่วนตำบลในพื้นที่ได้สะดวก
ด้านความรู้และการศึกษา พบว่าประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ม.3) คนส่วนใหญ่อายุ 15-59 ปี ที่ไม่สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้
ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน พบว่าส่วนใหญ่เคยร่วมประชุมหมู่บ้านและร่วมทำกิจกรรมชุมชน 
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่ามีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูก ร้อยละ  75-90 แต่มีปัญหาขยะของเสียอันตราย
ด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ พบว่ามีความเสี่ยง ได้แก่ ปัญหายาเสพติด และปัญหาการพนัน

จากการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์คนในชุมชน หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีการทำการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่ำมาก ปัญหาเนื่องจากมีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีที่ราคาสูง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมด ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ และผลผลิตทางการเกษตรที่ออกกมามีปริมาณน้อย จึงทำให้ประสบปัญหาขาดทุน  แต่ก็มีบางครัวเรือนที่ผลผลิตออกมาไม่ทันขายตามความต้องการตลาด เนื่องจากต้องใช้เวลานานกว่าผลผลิตจะเจริญเติบโตจนสามารถเก็บเกี่ยวได้ เช่น พริก ข่า ใบเตย กล้วย มะพร้าว ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น 

ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะนำไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อในพื้นที่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ ส่วนผลผลิตที่เป็นพืชผักสวนครัวและผลไม้ต่างๆ จะนำไปจำหน่ายให้กับแม่ค้าในตลาดต่างๆ ของอำเภอหล่มสักในลักษณะขายส่ง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะนำผลผลิตไปจำหน่ายเอง โดยเป็นการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเป็นแบบสดที่ไม่ผ่านการแปรรูปใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรมีน้อย

          1.2  ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย
                1) ลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร
                2) ลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตและสร้างรายได้เพิ่ม

4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
    ครัวเรือนที่ทำการเกษตรในหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน  20  ครัวเรือน

5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ   
    –

 6. วิธีการดำเนินงาน
     6.1 การส่งเสริมความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

         กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมการสร้างรายได้เพิ่มด้วยการเลี้ยงปลาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

     6.2 การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร

         กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยผสมผสานสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน

          กิจกรรมที่ 2 การผสมปุ๋ยใช้เองสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทางการเกษตร

    6.3 การส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

         กิจกรรมที่ 1 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน

         กิจกรรที่ 2 การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

    6.4 การพัฒนาอาชีพเสริมจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม

         กิจกรรมที่ 1 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน (ของใช้)

กิจกรรมที่ 2 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน (ของกิน)

7. ผลการดำเนินงาน

   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม

ตัวชี้วัดหน่วยนับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
  ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64)ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65)ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65)ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65)
แผนผลแผนผลแผนผลแผนผล
เชิงปริมาณ 1) ผู้เข้าร่วมการส่งเสริมความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร           3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน                       4) ผู้เข้าร่วมการพัฒนาอาชีพเสริมจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม  คน                                     คน                       คน                                 ผล ผลิต                      1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2. กิจกรรมละลายพฤติกรรมของคนในชุมชน 3. อบรมเชิงปฏิบัติการ      1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตะหนักรู้เกี่ยวกับการรักความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการเลี้ยงปลาดุก และสามารถนำไปปฏิบัติได้                                        1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2) อบรมเชิงปฏิบัติการ                                        1) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการใช้ปุ๋ยผสมผสานสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน 2) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผสมปุ๋ยใช้เองได้                                                                          1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2) อบรมเชิงปฏิบัติการ                                   1) อบรมเชิงปฏิบัติการ                                                              1) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ 2) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและสามารถนำไปปฏิบัติได้       1) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของใช้ได้ 2)  ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของกินได้
เชิงคุณภาพ 1. รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10       2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     3) มีการบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่               4) มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม      รายได้             ระดับ                   หน่วยงาน                   ผล งาน        2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10    2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ                        2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ       การจัดประชุมเพื่อกำหนดกิจกรรม เพื่อสร้างความรักสามัคคีในชุมชนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐ และประชาชน   การนำข้อมูลผลงานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆ ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยการนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมโครงการ                      2) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”           มีการบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมอย่างน้อย 1 หน่วยงาน             มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 1 ผลงาน  


8. ผลการดำเนินงานของโครงการ
    8.1 ผลผลิต (output)
         1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการเลี้ยงปลาดุก และสามารถนำไปปฏิบัติได้
         2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการใช้ปุ๋ยผสมผสานสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน
         3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผสมปุ๋ยใช้เองได้
         4. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนและสามารถนำไปปฏิบัติได้
         5. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและสามารถนำไปปฏิบัติได้
         6.  ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของใช้ได้
         7. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของกินได้

    8.2 ผลลัพธ์ (Output)
          1. รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นที่เข้าร่วมโครงการ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
          2. ผลการประเมินดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น

    8.3 ผลกระทบ (Impact)
          1. มีการบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมอย่างน้อย 1 หน่วยงาน 
          2. มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 1 ผลงาน

    8.4 การประเมินผล

  • บรรลุ ร้อยละ 100
  • ไม่บรรลุ
  • ไม่สามารถประเมินผลได้

9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน
    1. เก็บข้อมูลผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ตามแนวทางของกรมพัฒนาชุมชน ก่อนและหลังดำเนินโครงการ
    2. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ก่อนและหลังดำเนินโครงการ

10. ปัญหาและอุปสรรค
      –

11. ข้อเสนอแนะ
      –

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *