โครงการ

โครงการ ส่งเสริมความรักความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยการพัฒนามาตรฐานการผลิตขั้นต้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กลุ่มนาแปลงใหญ่ หมู่ 3 ตำบล สามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ ส่งเสริมความรักความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยการพัฒนามาตรฐานการผลิตขั้นต้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กลุ่มนาแปลงใหญ่ หมู่ 3 ตำบล สามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร     รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๓-๔๑๑-๐๑-๐๒    ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์           ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    นาแปลงใหญ่ หมู่ 3 ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร 3. ปัญหาของพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ ม.๓ ต.สามง่าม เป็นกลุ่มเกษตรกรที่รวมกลุ่มการผลิตข้าวในพื้นที่ โดยมีสมาชิกในกลุ่มประมาณ 40 ครัวเรือน มีพื้นที่โดยรวมประมาณเกือบ 400 ไร่ โดยในกลุ่มนาแปลงใหญ่จะมีทั้งกลุ่มปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีทั่วไป และกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ซึ่งมีประมาณ 16 ครัวเรือน พื้นที่รวมประมาณ 250 ไร่ โดยบางรายอาจอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน ในด้านการผลิตข้าวของกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพต่าง ๆ ไว้ใช้เอง แต่เกษตรกรยังขาดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากทางสำนักงานเกษตรจังหวัด เช่น เครื่องสีข้าว รถไถ เครื่องสับวัสดุทางการเกษตร และเครื่องอัดฟาง เป็นต้น แต่ยังไม่มีเครื่องอัดเม็ดและความรู้เรื่องเทคโนโลยีการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จึงทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาแปลงใหญ่ และยังขาดความรู้เรื่องการผลิตและการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือน ซึ่งถือว่าเป็นอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง ส่วนด้านผลผลิตข้าวของกลุ่มส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับโรงสีในราคาถูกเพราะโดนกดราคาจากโรงสีใหญ่ๆ โดยผลผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกในกลุ่มจะมีสต็อกข้าวเปลือกเก็บเองในแต่ละครัวเรือนเพื่อรอสีและจำหน่ายทั้งปี โดยไม่ได้รวมกลุ่มกันจำหน่าย เป็นการจำหน่ายเองของแต่ละครัวเรือน ส่วนราคาขายจะได้ราคาเดียวกับข้าวที่ปลูกโดยใช้สารเคมีทั่วไป เพราะยังไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน ไม่มีช่องทางการขาย ไม่มีห้องบรรจุภัณฑ์ได้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และไม่มีการตรวจสอบคุณภาพข้าวที่จะสามารถแข่งขันทางการตลาดได้ อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ข้าวที่สวยงามและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถแข่งขันทางการตลาด จากข้อมูลเบื้องต้นเกษตรกรจึงต้องการให้เข้ามาช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มนาแปลงใหญ่ เพราะในด้านการผลิตของกลุ่มได้รับการรับรองมาตรฐานเป็น Organic Thailand แล้ว แต่ยังขาดการสนับสนุนและพัฒนาในเรื่องดังกล่าวข้างต้น ทำให้การผลิตจึงยังไม่ครบวงจรตามระบบของการผลิตที่ได้มาตรฐาน และต้องการการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของลูกค้า ช่องทางการขายในกลุ่มนาแปลงใหญ่ในปัจจุบันเป็นเพียงการขายข้าวอินทรีย์ให้กับคนที่รู้จักเท่านั้น ทางกลุ่มได้นำผลผลิตไปวางขายตามร้านขายสินค้า (ออฟไลน์) แต่ขายได้ไม่ดี และราคาสู้ผลผลิตจากโรงสีใหญ่ๆ ไม่ได้ ส่วนการขายในรูปแบบออนไลน์ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่มีความรู้เรื่องตลาดออนไลน์หรือการขายบน platforms Marketplace ต่าง ๆ แต่อย่างใด จึงต้องการให้ดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องการทำตลาดออนไลน์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย      ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย          1. การลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์          2. การพัฒนาห้องบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐาน GMP          3. การตรวจสอบคุณภาพผลผลิต เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า          4. การสร้างแบรนด์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า          5. การส่งเสริมการทำตลาดออนไลน์ 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย    กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ (เกษตรอินทรีย์) จำนวน 16 ครัวเรือนพื้นที่นาข้าว 250 ไร่ 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ    –  6. วิธีการดำเนินงาน     6.1 การสร้างตราสินค้า และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า           กิจกรรมที่ 1 การสร้างตราสินค้า เครื่องหมายการค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า      6.2 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หลักปฏิบัติในการผลิต”ข้าวอินทรีย์”ให้ได้มาตรฐานสากล, มาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์, การตรวจประเมินข้าวในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน Primary GMP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ : GMP ในสถานประกอบการ         กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หลักปฏิบัติในการผลิต”ข้าวอินทรีย์”ให้ได้มาตรฐานสากล        กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดองค์ความรู้ มาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ และการตรวจประเมินข้าวในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน        กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดองค์ความรู้ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ : GMP ในสถานประกอบการ 6.3 การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนและเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สำหรับแปลงนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่       กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบรรยายและปฏิบัติการ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์        กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมบรรยายและปฏิบัติการ การผลิตสารชีวภัณฑ์และการใช้สารชีวภัณฑ์ในนาข้าว 6.4 การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยการตลาดออนไลน์     กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักการการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์การขายของออนไลน์ การออกแบบสื่อการตลาด การทำวีดีโอส่งเสริมการขายเทคนิคการตกแต่งภาพ การสร้างคอนเทนต์      กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดออนไลน์ การสร้าง Facebook fanpage, Line Official Accout, การนำสินค้าลง platforms Marketplace ต่างๆและการทำโฆษณาออนไลน์ 7. ผลการดำเนินงาน   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) การสร้างตราสินค้า เครื่องหมายการค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน   3) การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยการตลาดออนไลน์   ตราสินค้า             สายพันธุ์ไส้ เดือน     ช่อง ทาง การจำ หน่าย             1) การสร้างตราสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตข้าว       2) การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์       3) การพัฒนาตลาดออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน   1) ได้ตราสินค้าสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์โดยมีชื่อโลโก้ว่า”อินทรีย์สามง่าม   2) เกษตรกรได้สายพันธุ์ไส้เดือนไปเลี้ยงเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน     3) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์บน Facebook fanpage     เชิงคุณภาพ 1. รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10       2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ       3) การบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่   คน               ระดับ                 หน่วยงาน                             1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10       2) ดัชนีชี้ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของสมาชิกก่อนเข้าร่วมโครงการมีค่าเท่ากับ ๗๐.๔๕   3) การจัดประชุมเพื่อกำหนดกิจกรรม ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐ และประชาชน   1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 – 20 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ   2) ดัชนีชี้ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของสมาชิกหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าเท่ากับ ๘๑.๖๘       3) เกิดความร่วมมือสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ๒. สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ๓. สำนักงานเกษตรอำเภอ         สามง่าม                               8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)         1. เกษตรมีผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิต Organic Thailand และได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ (Product certification) หรือข้าวสาร Q ที่สามารถแข่งขันทางการตลาดได้ ส่งผลให้ข้าวอินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ทำให้รายได้ครัวเรือนของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น         2. เกษตรกรมีช่องทางการขายสินค้าของกลุ่มและของตนเอง สามารถขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ และมีสินค้าวางขายบน Platforms Marketplace เช่น Shopee ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น         3. เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในแปลงนาอินทรีย์ของตนเองได้ ลดการซื้อปุ๋ยลงทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ไม่มีการใช้สารเคมี เป็นการปลูกข้าวอินทรีย์อย่างแท้จริงเป็นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลดีต่อสุขภาพ และมีเกษตรกรที่หันมาปลูกข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น     8.2 ผลลัพธ์ (Output)          1. รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นที่เข้าร่วมโครงการ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10          2. ผลการประเมินดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น          3. การดำเนินการแบบเกษตรอินทรีย์เกิดขยายตัวมากขึ้น เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งด้านการผลิตและด้านการตลาด ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้การดำเนินงานของกลุ่มเกิดความยั่งยืนขึ้น     8.3 ผลกระทบ (Impact) การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน ได้นำงานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบวัสดุรองพื้นที่ใช้ในการเลี้ยงไส้เดือนที่แตกต่างกันต่อการผลิตมูลไส้เดือนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2556 และงานวิจัยเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2559 มาบูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่องค์ความรู้ทางวิชาการที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังได้บูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดการของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์มาใช้ในกิจกรรมโครงการ โดยได้นำนักศึกษาไปเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานในโครงการ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร ช่วยฝึกสอนแนะนำเกษตรกร หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมโครงการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ที่เป็นคำถามจากเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการวัสดุทางการเกษตรบางชนิด และได้นำมาศึกษาทดลองวิธีการเตรียมวัสดุทางการเกษตรให้เหมาะสมกับการนำมาเลี้ยงไส้เดือนเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมต่อไป ๒) กิจกรรม เทคโนโลยีชีวภัณฑ์สำหรับแปลงนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่             เทคโนโลยีชีวภัณฑ์สำหรับแปลงนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ ได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับสารชีวภัณฑ์และการใช้สารชีวภัณฑ์ในนาข้าวมาอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ตั้งแต่กระบวนการผลิตสารชีวภัณฑ์และการใช้ประโยชน์ โดยสารชีวภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ใช้ในการควบคุมศัตรูพืช ได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ ในที่นี้จะพูดถึงเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อรา 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อรากำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชคือ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช คือ เชื้อราบิวเวอเรีย และเชื้อราเมตตาไรเซี่ยม ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยม และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เชื้อราดังกล่าวมีคุณสมบัติเหมือนสารเคมี ในการกำจัดโรคพืชและแมลงศัตรูพืชหลายชนิด แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และไม่มีฤทธิ์ตกค้างในสิ่งแวดล้อมเหมือนสารเคมี และที่สำคัญเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ เพราะเกษตรกรสามารถผลิตขยายใช้เองได้ และเชื้อจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเมื่อใช้แล้วสามารถขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติไม่ต้อง ใช้บ่อยเหมือนสารเคมี     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน    1. สำรวจข้อมูลรายได้ก่อนการดำเนินโครงการ และหลังจากที่ได้ผลิตภัณฑ์ข้าวในรูปแบบ Organic Thailand   เมื่อจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว ทำให้ยอดขายหรือรายได้ เพิ่มขี้นร้อยละเท่าไร    2. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ก่อนและหลังดำเนินโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการ ส่งเสริมความรักความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยการพัฒนามาตรฐานการผลิตขั้นต้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กลุ่มนาแปลงใหญ่ หมู่ 3 ตำบล สามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร Read More »

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานการเกษตรบ้านวังแดงใต้ ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานการเกษตรบ้านวังแดงใต้ ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร     รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๓-๔๑๑-๐๓-๐๒    ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยศวรรธน์  จันทนา    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์           ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    หมู่ 2 บ้านวังแดงใต้ ตำบลเขาทราบ อำเภอทับคล้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. ปัญหาของพื้นที่  การแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร เป็นพันธกิจหลักที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการขจัดความยากจนในชนบท  ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อเมืองเกษตรดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมและคุณภาพชีวิตดี ยกระดับการท่องเที่ยวสู่สากล ซึ่งพื้นที่ในการให้บริการวิชาการ ได้แก่ บ้านวังแดงใต้ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ได้ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ และเป็ดไข่ เพื่อสร้างรายได้และทำกินในครัวเรือน แต่ยังไม่ครอบคลุมและยังมีความต้องการในการพัฒนาที่สำคัญๆ อีกหลายประการที่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้กับคนในพื้นที่เป้าหมาย    ดังนั้น เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในท้องถิ่นจังหวัดพิจิตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีประเด็นที่ต้องส่งเสริมเพิ่มเติมและประเด็นใหม่ ดังนี้ การส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในท้องถิ่น การส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่-เป็ดไข่เพื่อหาสร้างรายได้เสริม การส่งเสริมการเลี้ยงไก่เพื่อการสร้างรายได้ ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวให้ดีขึ้นได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย           ความต้องการของชุมชนตามประเด็นการพัฒนาของแผนพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ และพิจิตร                1) นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนา โดยการนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ และเป็ดไข่                2) เพื่อสร้างอาชีพเสริมและสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน สำหรับกลุ่มชาวบ้านบ้านวังแดงใต้ สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานในครอบครัวได้ 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย    ชาวบ้านบ้านวังแดงใต้ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จำนวน 20 คน 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ      – 6. วิธีการดำเนินงาน    6.1 การลงพื้นที่สำรวจบริบทชุมชนและขออนุมัติโครงการ          กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจบริบทชุมชน          กิจกรรมที่ 2 ขออนุมัติดำเนินโครงการ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน     6.2 การวางแผนกิจกรรมและประสานความร่วมมือกับผู้นำในพื้นที่เป้าหมาย          กิจกรรมที่ 1 ประชุมร่วมกันปรึกษาหารือคณะทำงาน          กิจกรรมที่ 2 ประสานงาน เตรียมการ จัดทำเอกสารหนังสือราชการ     6.3 ดำเนินกิจกรรม ประเมินผล สรุปผลและติดตาม         กิจกรรมที่ 1 ดำเนินกิจกรรม         กิจกรรมที่ 2 ประเมินผล ติดตาม และสรุปผลการดำเนินงาน 7. ผลการดำเนินงาน   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) กลุ่มเป้าหมาย ได้ไก่ไข่ เป็ดไข่ และอาหาร   จำนวน                               1. สร้างอาชีพเสริมและสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน   1) ชุมชนได้ไก่ไข่ เป็ดไข่ และอาหาร                   เชิงคุณภาพ 1) ชุมชนได้องค์ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่       จำนวนคน               1) การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง การเลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่ เพื่อประกอบเป็นอาชีพ   1) กลุ่มเป้าหมายได้องค์ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่เพื่อประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน       8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)         1. ชุมชนได้ไก่ไข่ เป็ดไข่ และอาหาร      8.2 ผลลัพธ์ (Output)         1. ช่วยลดค่าครองชีพและช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว         2. สามารถขยายผลผลิตเพิ่มมากขึ้นให้มีเงินทุนหมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิต     8.3 ผลกระทบ (Impact)         1. ช่วยลดค่าครองชีพและช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว         2. สามารถขยายผลผลิตเพิ่มมากขึ้นให้มีเงินทุนหมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิต     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน     ประเมินผลกระทบ/ประโยชน์/การสร้างคุณค่าต่อชุมชน โดยการประเมินผลผลิต ตรวจสอบประสิทธิผลของโครงการ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานการเกษตรบ้านวังแดงใต้ ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร Read More »

โครงการ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก หมู่ ๗ ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์     รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๓-๔๑๑-๐๑-๐๑    ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์หทัยนุช จันทร์ชัยภูมิ    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    2.1 หมู่ ๗ ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. ปัญหาของพื้นที่ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 111  ครัวเรือน รายได้เฉลี่ยบุคคล  59,334 บาท/คน/ปี รายได้เฉลี่ยครัวเรือน 214,334 บาท/ครัวเรือน/ปี  และระดับความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) เท่ากับ 4.96 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ พบว่ามีครัวเรือนที่ทำอาชีพการเกษตร 85 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 76.57 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน ซึ่งมีรายได้เฉลี่ย 100,000 บาท/ปี/ครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วยการทำนา จำนวน 62  ครัวเรือน ปลูกพืชอายุยาว (ปลูกมากอันดับหนึ่ง คือ ยาสูบ) จำนวน  22  ครัวเรือน ทำสวนผลไม้ (ปลูกมากอันดับหนึ่ง คือ ชมพู่) จำนวน 11 ครัวเรือน ทำสวนผัก(ปลูกมากอันดับหนึ่ง คือ พริก) จำนวน 21 ครัวเรือน แต่ไม่มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ด้านสุขภาวะอนามัย พบว่าไม่มีปัญหา เนื่องจากไปรับบริการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลส่วนตำบลในพื้นที่ได้สะดวกด้านความรู้และการศึกษา พบว่าประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ม.3) คนส่วนใหญ่อายุ 15-59 ปี ที่ไม่สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน พบว่าส่วนใหญ่เคยร่วมประชุมหมู่บ้านและร่วมทำกิจกรรมชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่ามีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูก ร้อยละ  75-90 แต่มีปัญหาขยะของเสียอันตรายด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ พบว่ามีความเสี่ยง ได้แก่ ปัญหายาเสพติด และปัญหาการพนัน จากการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์คนในชุมชน หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีการทำการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่ำมาก ปัญหาเนื่องจากมีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีที่ราคาสูง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมด ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ และผลผลิตทางการเกษตรที่ออกกมามีปริมาณน้อย จึงทำให้ประสบปัญหาขาดทุน  แต่ก็มีบางครัวเรือนที่ผลผลิตออกมาไม่ทันขายตามความต้องการตลาด เนื่องจากต้องใช้เวลานานกว่าผลผลิตจะเจริญเติบโตจนสามารถเก็บเกี่ยวได้ เช่น พริก ข่า ใบเตย กล้วย มะพร้าว ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น  ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะนำไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อในพื้นที่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ ส่วนผลผลิตที่เป็นพืชผักสวนครัวและผลไม้ต่างๆ จะนำไปจำหน่ายให้กับแม่ค้าในตลาดต่างๆ ของอำเภอหล่มสักในลักษณะขายส่ง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะนำผลผลิตไปจำหน่ายเอง โดยเป็นการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเป็นแบบสดที่ไม่ผ่านการแปรรูปใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรมีน้อย           1.2  ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย                1) ลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร                2) ลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตและสร้างรายได้เพิ่ม 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย    ครัวเรือนที่ทำการเกษตรในหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน  20  ครัวเรือน 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ       –  6. วิธีการดำเนินงาน     6.1 การส่งเสริมความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง            กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง          กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมการสร้างรายได้เพิ่มด้วยการเลี้ยงปลาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง      6.2 การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร          กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยผสมผสานสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน           กิจกรรมที่ 2 การผสมปุ๋ยใช้เองสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทางการเกษตร     6.3 การส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน          กิจกรรมที่ 1 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน          กิจกรรที่ 2 การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร     6.4 การพัฒนาอาชีพเสริมจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม          กิจกรรมที่ 1 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน (ของใช้) กิจกรรมที่ 2 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน (ของกิน) 7. ผลการดำเนินงาน    7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) ผู้เข้าร่วมการส่งเสริมความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร           3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน                       4) ผู้เข้าร่วมการพัฒนาอาชีพเสริมจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม   คน                                     คน                       คน                                 ผล ผลิต                         1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2. กิจกรรมละลายพฤติกรรมของคนในชุมชน 3. อบรมเชิงปฏิบัติการ       1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตะหนักรู้เกี่ยวกับการรักความสามัคคีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการเลี้ยงปลาดุก และสามารถนำไปปฏิบัติได้                                         1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2) อบรมเชิงปฏิบัติการ                                         1) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการใช้ปุ๋ยผสมผสานสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน 2) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผสมปุ๋ยใช้เองได้                                                                           1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2) อบรมเชิงปฏิบัติการ                                   1) อบรมเชิงปฏิบัติการ                                                               1) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ 2) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและสามารถนำไปปฏิบัติได้       1) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของใช้ได้ 2)  ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของกินได้ เชิงคุณภาพ 1. รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10       2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     3) มีการบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่               4) มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม       รายได้             ระดับ                   หน่วยงาน                   ผล งาน             2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ                         2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ       การจัดประชุมเพื่อกำหนดกิจกรรม เพื่อสร้างความรักสามัคคีในชุมชนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐ และประชาชน   การนำข้อมูลผลงานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆ ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยการนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมโครงการ                       2) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”           มีการบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมอย่างน้อย 1 หน่วยงาน             มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 1 ผลงาน   8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)         1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการเลี้ยงปลาดุก และสามารถนำไปปฏิบัติได้         2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการใช้ปุ๋ยผสมผสานสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบใช้ดินและไร้ดิน         3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผสมปุ๋ยใช้เองได้         4. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนและสามารถนำไปปฏิบัติได้         5. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและสามารถนำไปปฏิบัติได้         6.  ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของใช้ได้         7. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเป็นของกินได้     8.2 ผลลัพธ์ (Output)          1. รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นที่เข้าร่วมโครงการ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10          2. ผลการประเมินดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น     8.3 ผลกระทบ (Impact)          1. มีการบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมอย่างน้อย 1 หน่วยงาน           2. มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 1 ผลงาน     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน    1. เก็บข้อมูลผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ตามแนวทางของกรมพัฒนาชุมชน ก่อนและหลังดำเนินโครงการ    2. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ก่อนและหลังดำเนินโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก Read More »

โครงการ พัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ พัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร     รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๕-๔๑๑-๐๑-๐๒    ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ปาณิสรา คงปัญญา    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์           ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    บ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร 3. ปัญหาของพื้นที่พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ตำบลวังทับไทร จะเป็นดินลูกรังเหมาะกับการทำสวนผลไม้คือ มะม่วง และมะปราง        ( มะยงชิดพันธุ์ไข่ไก่) ซึ่งสามารถจัดทำ เป็นผลผลิตทางด้านการเกษตรให้กับชาวสวนตำบลวังทับไทร และพื้นที่ตำบลใกล้เคียงได้อย่างดี เพราะ นอกจากจะมีการจัดจำหน่ายผลผลิตดังกล่าวไปยังจังหวัดต่าง ๆ แล้ว ยังได้มีการจัดส่งออกต่างประเทศเป็นการนำรายได้เข้าสู่จังหวัดพิจิตร สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรควรต้องไขว่คว้าและช่วยเหลือตนเองในช่วงที่ผลผลิตมะม่วง-มะยงชิด ออกพร้อมๆกันในหลายจังหวัด นั่นก็คือการไลฟ์สดจากสวนของเกษตรกรโดยตรง เพื่อขายตรง-ส่งตรง ถึงมือผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นช่องทางที่เป็นการตลาดของชาวสวนเอง และสามารถกำหนดราคาของตนเองได้อีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาชาวสวนมะม่วง-มะยงชิดของ จ.พิจิตร ก็ดำเนินการแล้วแต่ยังไม่กว้างไกล เพื่อความอยู่รอด ชาวสวนควรใส่ใจข้อมูลรอบด้านให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาศัยแค่ฟังพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาเหมือนในอดีตแต่เพียงอย่างเดียวคงจะไม่ได้แล้ว ควรปรับตัวเรียนรู้สภาพการเปลี่ยนแปลงของภาวะอากาศ โดยจดบันทึกข้อมูลสภาพภูมิอากาศภายในสวนของตนเองให้ละเอียด เพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแผนการผลิต ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้เหมาะสมที่สุด เพื่อช่วยลดความสูญเสียของผลผลิต และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้นตามที่ต้องการเพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแผนการผลิต ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้เหมาะสมที่สุด 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย   สมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ       –  6. วิธีการดำเนินงาน     6.1 กิจกรรมสำรวจความต้องการกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย           ศึกษาข้อมูลบริบทเบื้องต้นของชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ดำเนินการจากสารสนเทศต่างๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทับไทร   6.2 กิจกรรมการพัฒนาแปรรูปสินค้าและกระบวนการการยกระดับรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร          1. กระบวนการการแปรรูป และการผลิตมะยงชิด          2.  อบบรมเพิ่มความรู้เกี่ยวกับรายได้ครัวเรือน 6.3 กิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรกรบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร       การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูป 7. ผลการดำเนินงาน    7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปมะยงชิด     2) ช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูป     ผลิต ภัณฑ์       แห่ง           1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ      ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์   1) ฝึกอบรมอบรมช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขาย     1) ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปมะยงชิด     1) ได้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตภัณฑ์     เชิงคุณภาพ 1. รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     รายได้           ระดับ                 1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ   2) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข” 8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)    1. กลุ่มเกษตรกรบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น   2. กลุ่มเกษตรกรบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตรมีรายได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า   3. เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปให้กับกลุ่มเกษตรกร     8.2 ผลลัพธ์ (Output)          1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10          2. ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”     8.3 ผลกระทบ (Impact)   ชุมชนบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปสร้างอาชีพเพื่อความยั่งยืน และสร้างรายได้  ให้กับครอบครัว     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน    1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ    2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการ พัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนบ้านวังทับไทร หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร Read More »

โครงการ การสร้างคุณค่าและเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์อะโวคาโด ศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ การสร้างคุณค่าและเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์อะโวคาโด ศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์     รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๕-๔๑๑-๐๑-๐๑    ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ปาณิสรา คงปัญญา    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์           ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    2.1 ศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไร่ทิพย์เสาวรส ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. ปัญหาของพื้นที่    ปัจจุบันอะโวคาโดถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ ตลาด ต้องการสูง มีราคาแพง 50-60 บาท/กิโลกรัม อะโวคาโดเป็นพืชเพื่อสุขภาพที่ เปี่ยมไปด้วยประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างมาก แรกเริ่มสำหรับตลาดในประเทศไทย พบว่า ผลอะโวคาโด เพิ่งจะได้รับความสนใจในการบริโภค โดยกลุ่มผู้รักสุขภาพทังหลาย ปัจจุบัน พบว่า ตลาดให้ความสนใจมากขึ้นตามลำดับ ทำให้อะโวคาโด กลายเป้นผลไม้ที่ มีความต้องการของตลาดสูงของตลาดในปัจจุบัน               การแปรรูปอะโวคาโดในปัจจุบันเริ่มจากการสกัดน้ำมัน และการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกทั้ง ยังเป็นพืชที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้ที่ดีให้เกษตรกรใน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโดมีจำนวนมาก มีพื้นที่ปลูกแบบแปลงเดี่ยวและแปลงผสมผสานกับไม้ผลชนิดอื่น และมีแนวโน้มขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ปริมาณผลผลิตอะโวคาโดยังมีไม่พอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งการปลูกอะโวคาโดจากเมล็ดตามวิธีดั้งเดิมของเกษตรกร ส่งผลให้ผลผลิตอะโวคาโดไม่ตรงตามพันธุ์ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ผลผลิตด้อยคุณภาพ ยากต่อการจัดการผลผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้  ยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มด้านหนึ่งด้วย ศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไร่ทิพย์เสาวรส ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้แนวคิดเกษตร ปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้มีความหลากหลายสอดคล้อง กับความต้องการของตลาด อาทิพัฒนาภาคเหนือตอนบนเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ และตอนล่าง เป็นฐานผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยในรูปแบบฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย   กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกกลุ่มศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไร่ทิพย์เสาวรส ตำบลหนองแม่นา   อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ       นักศึกษา รหัสวิชา MSMB523 วิชา การจัดการการผลิติและการปฏิบัติการสมัยใหม่ จำนวน นศ ๖ คน     นักศึกษา รหัสวิชา MSMB512 วิชา การจัดการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมองค์กร จำนวน นศ ๖ คน  6. วิธีการดำเนินงาน     6.1 กิจกรรมสำรวจความต้องการชุมชน           1. ศึกษาข้อมูลบริบทเบื้องต้นของชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ดำเนินการจากสารสนเทศต่าง ๆ และสำนักงานพัฒนาชุมชน              2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อจัดลำดับ วิเคราะห์บริบท       6.2 กิจกรรมทำบัญชีครัวเรือน          อบรมให้ความรู้วิธีการทำบัญชีครัวเรือนให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ            6.3 กระบวนการการผลิตยกระดับรายได้ให้กับชุมชนฐานราก ศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ               กระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์จากอะโวคาโดผลิตภัณฑ์จากอะโวคาโดให้กับศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไร่ทิพย์เสาวรส ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 7. ผลการดำเนินงาน   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) ผู้เข้าร่วมอบรมการทำบัญชีครัวเรือน     2) ผู้เข้าร่วมอบรมการสร้างผลิตภัณฑ์จากอะโวคาโด     คน         ผลิต ภัณฑ์       1) ฝึกอบรมการทำบัญชีครัวเรือน     1) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้             1) ฝึกอบรมการสร้างผลิตภัณฑ์จากอะโวคาโด               2) ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก           อะโวคาโด จำนวน 3 ชนิด     เชิงคุณภาพ 1. รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10         2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     รายได้               ระดับ             1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     1) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ                         2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ                     2) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข” 8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)          1. ชุมชนได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอะโวคาโด จำนวน 3 ชนิด          2. ชุมชนสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้     8.2 ผลลัพธ์ (Output)          1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10          2.  ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”          3. ชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว          4. ชุมชนสามารถรวมกลุ่ม เพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง     8.3 ผลกระทบ (Impact)          ชุมชนกลุ่มเป้าหมาย ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สมารถนำความรู้ที่ได้ ไปสร้างอาชีพเพื่อความยั่งยืน และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน    1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ    2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการ การสร้างคุณค่าและเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์อะโวคาโด ศูนย์เรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ Read More »

โครงการส่งเสริมความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร     รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๔-๔๑๑-๐๑-๐๒    ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สนใจ    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์           ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    หมู่ที่ 3 ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 3. ปัญหาของพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์น้อมนำพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด โดยการดำเนินโครงการส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ ประจำปี 2565 และเนื่องด้วยจากรายงานสำรวจความต้องการในการับบริการวิชาการประจำปีการศึกษา 2564 โดยคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระบุว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความต้องการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน อันเนื่องมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงทางสังคม และการลดลงของรายได้ในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการเป็นอย่างดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงได้เลือกเป็นพื้นที่เป้าหมาย คือ หมู่ที่ 3 ตำบล บางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร           ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย 1. ต้องการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี2. ต้องการสร้างกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำตะกร้าสาน3. ต้องการสร้างหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์การทำตะกร้าสาน 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย    กลุ่มแม่บ้าน และเครือข่ายเยาวชน ตำบลบางมูลนาก จำนวน ๓00 คน 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ    –  6. วิธีการดำเนินงาน     6.1 กระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี           กิจกรรมการพัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี  6.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปักและการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์กระเป๋าสาน        กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปัก      กิจกรรมที่ 2 การร่วมพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปัก 7. ผลการดำเนินงาน    7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) ผู้เข้าร่วมพัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี       2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปักและการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์กระเป๋าสาน       เชิงคุณภาพ 1. รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     2) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     คน               คน                       รายได้             ระดับ       อบรม เชิงปฏิบัติการ   ได้วิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวนอย่างน้อย 20 คน                   1) การให้ความรู้การสานกระเป๋าและตะกร้าจากเส้นพลาสติก 2) การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ กระเป๋าและตะกร้าสานจากเส้นพลาสติก                           1) เยาวชนและประชาชนตำบลห้วยเขน จำนวน 60 คน 2) เยาวชนและประชาชนตำบลภูมิ จำนวน 60 คน                                         1)รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ       2)ประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ                                           1)รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า           ร้อยละ 10             2)ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข” 8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)         1. ผลิตภัณฑ์จากกระเป๋าสานจากเส้นพลาสติก     8.2 ผลลัพธ์ (Output)          1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10          2. ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”     8.3 ผลกระทบ (Impact)          1. องค์การบริหารส่วนตำบลภูมิ พัฒนาเยาวชนเป็นวิทยากรกระบวนการจิตอาสารู้รักสามัคคีจำนวน  20 คน          2. องค์การบริหารส่วนตำบลภูมินำเนื้อหาการอบรมเชิงปฏิบัติการณ์การสานตะกร้า เพื่อจัดอบรมผู้สูงอายุ     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน     1. เก็บข้อมูลผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ตามแนวทางของกรมพัฒนาชุมชน ก่อนและหลังดำเนินโครงการ    2. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสุขมวลรวมของกลุ่มเป้าหมาย (GVH) ก่อนและหลังดำเนินโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการส่งเสริมความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร Read More »

โครงการส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ บ้านวังร่อง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ ส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ บ้านวังร่อง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์     รหัสกิจกรรม ๖๕-๑๐๔-๔๑๑-๐๑-๐๑    ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ อานี    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์           ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    บ้านวังร่อง หมู่ที่ 5  ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์       3. ปัญหาของพื้นที่    ชุมชนตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความต้องการที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน อันเนื่องมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงทางสังคม และการลดลงของรายได้ในสถานการณ์ โควิด-19 โดยมีกิจกรรมที่ต้องการแก้ไขปัญหา ได้แก่ 1.  ต้องการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี2.  การเพิ่มมูลค่า การสานตะกร้าจากไม้ไผ่ และการสานขันโตกจากหวาย3.  การเพิ่มมูลค่าจากผ้าพื้นถิ่นในการตัดเย็บชุดผ้าไทย 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย    4.1 พื้นที่เป้าหมาย ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 240 คน   4.2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มสตรีบ้านวังร่อง และเครือข่ายเยาวชนบ้านวังร่อง จำนวน 30 คน 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ    – 6. วิธีการดำเนินงาน    6.1 กิจกรรมพัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี          ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเยาวชนและประชาชน ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 180 คน 6.2 กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตัดเย็บเสื้อผ้าจากผ้าพื้นถิ่น       กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การตัดเย็บเสื้อผ้า ใช้องค์ความรู้ด้านการการปักผ้า  และการปฏิบัติการปักผ้า 6 วัน     กิจกรรมที่ 2 การร่วมพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าปัก และสร้างช่องทางการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าปักบ้านวังร่อง 1 วัน    กิจกรรมที่ 3 การสานตะกร้าจากไม้ไผ่การนำองค์ความรู้การสานตะกร้าจากไม้ไผ่มาปฏิบัติการสานตะกร้าจากไม้ไผ่คนละ 2 ใบ 7. ผลการดำเนินงาน   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) กลุ่มเยาวชนและประชาชนมีกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี 2) การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การตัดเย็บเสื้อผ้า 3) การสานตระกร้าจากไม้ไผ่   คน         คน         คน                       2) อบรมให้ความรู้ การปักผ้าและการปฏิบัติการ           ปักผ้า             2) เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า 1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี   1) เกิดวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน                             3) อบรมให้ความรู้การสานตะกร้าจาก          ไม้ไผ่                       3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตะกร้าไม้ไผ่ เชิงคุณภาพ 1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ   2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ   คน       รายได้         ระดับ               1) จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 100 ครัวเรือน   2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 1) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (เทียบกับก่อนดำเนินโครงการ 3) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข” 8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)           1. เกิดวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวนอย่างน้อย 20 คน          2. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า          3. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตะกร้าไม้ไผ่     8.2 ผลลัพธ์ (Output)    1. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชนสร้างสัมพันธภาพอันดี และเกิดการบูรนาการที่ดีระหว่างชุมชนเป้าหมายและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์   2. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10   3.  ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”     8.3 ผลกระทบ (Impact)    1. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความรัก สามัคคี และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวน 20 คน   2. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการตัดเย็บเสื้อผ้า และกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา   3. กศน.ตำบลห้วยไร่ บ้านวังร่อง พัฒนาแผนการเรียนรู้การสานตะกร้าเพื่อพัฒนาอาชีพ และกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน     1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ    2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการส่งเสริมความรัก สามัคคีของคนในชาติ บ้านวังร่อง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ Read More »

โครงการ การพัฒนาระบบการจัดการกิจกรรมกีฬา นันทนาการและทักษะอาชีพในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์รายงานผลการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ การพัฒนาระบบการจัดการกิจกรรมกีฬา นันทนาการและทักษะอาชีพในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์     รหัสกิจกรรม 65-102-411-01-02    ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์วิชญาพร อ่อนปุย    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประเภทโครงการ เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ     1. โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์    2. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. ปัญหาของพื้นที่               ในปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ได้รับการสนับสนุนในการดำเนินโครงการ เสริมสร้างสุขภาพกีฬา นันทนาการ และอาชีพ ผู้สูงอายุในชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนสูงอายุ) โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์จำนวนทั้งสิ้น 100 คน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีศักยภาพในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุและสามารถ5ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษาสู่การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับชุมชน รวมถึงเป็นโครงการต้นแบบในชุมชนในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ และเพิ่มโอกาสให้กับผู้สูงอายุได้มีงานทำและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผลการดำเนินโครงการ จากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ หลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบ การจัดกิจกรรมกีฬานันทนาการและอาชีพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน พบว่าโดยภาพรวมทั้งหมดมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจากผลการประเมินโครงการโดยนักเรียน (ผู้สูงอายุ) ตัวแทนชุมชน ครูใหญ่และครูในโรงเรียน นักพัฒนาชุมชนพบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในกิจกรรม โดย ระบุว่าการอบรมในครั้งนี้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ได้ออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด ได้สนุกสนานกับการร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย การเล่นเกมแปลกใหม่ การสร้างผลิตภัณฑ์ พวงกุญแจผ้ามุข กระเป๋าผ้ามุข และงานกระดาษ และเพิ่มพลังความสามัคคี ทั้งนี้สิ่งที่จะพัฒนาต่อไปคือ การนำกิจกรรมมาพัฒนาต่อเนื่องให้เกิดความชำนาญในกิจกรรม และจะนำไปประกอบเป็นอาชีพ อดิเรก การขายตามท้องตลาด ถ่ายทอดการประดิษฐ์นี้ให้กับลูกหลานและจะร่วมกันผลิตเพื่อถวายวัดและเก็บไว้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม ศึกษาดูงานภายในโรงเรียนต่อไปแต่เนื่องด้วยระบวนการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา มีระยะเวลาจำกัด ประกอบการเผชิญสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ ดังนั้นในการดำเนินโครงการครั้งนี้ผู้ดำเนินโครงการจะดำเนินการพัฒนาระบบการดำเนินกิจกรรมให้ชัดเจนมากขึ้นโดย จัดระบบการดำเนินกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เดิมให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยนักเรียน (ผู้สูงอายุ) สอน นักเรียน (ผู้สูงอายุ) เองจนเกิดความชำนาญ และกำหนดเป็นระบบการเรียนของหลักสูตรในโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมถึงเดิมมีการสร้างตราสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์แต่ยังมิได้ดำเนินการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์นำไปสู่การส่งผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของชุมชน (ชมรมผู้สูงวัย) โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย)สหกรณ์ ชมรมผู้สูงอายุและการสร้างแหล่งในการจำหน่ายสินค้า ภายในโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัย (ผู้สูงวัย) ซึ่งจะมีการจำหน่ายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยว และคณะศึกษาดูงานตลอดทั้งปี ซึ่งคาดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจะเสริมสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ ด้วยกิจกรรมกีฬา นันทนาการ ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม สามารถตระหนักถึงคุณค่า และศักยภาพของตนเอง นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบนำไปสู่การสร้างอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืน           ความต้องการของชุมชนของพื้นที่เป้าหมาย 1. ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ และสามารถนำผลิตภัณฑ์ ไปจัดจำหน่ายได้2. ต้องการจัดกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย3. ต้องการพัฒนาระบบการดำเนินกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้5. การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยตามกรอบ PA โดยใช้แหล่งเรียนรู้ 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย    นักเรียน (ผู้สูงอายุ) โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ    นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 คน 6. วิธีการดำเนินงาน    6.1 การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ด้านรายได้ในปัจจุบัน การประกอบอาชีพ           1 ) ลงพื้นที่ ติดต่อประสานหน่วยงานของกลุ่มเป้าหมาย          2) ดำเนินการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย          3) การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลเพื่อ กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม 6.2 กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพกีฬา และนันทนาการ       1) การฝึกสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย      2) เพื่อนสอนเพื่อน(ผู้สูงอายุ) 6.3 กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ ทบทวนกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น        1) ฝึกทักษะการสร้าง ผลิตภัณฑ์ 4 รูปแบบ ได้แก่           1.1 ฝึกการผลิตกระเป๋าจากผ้ามุก           1.2 ฝึกการผลิตพวงกุญแจ           1.3 ฝึกการผลิตดอกไม้กระดาษ (ชบา)           1.4 ฝึกการผลิตดอกไม้กระดาษ (กุหลาบ)       2) ฝึกสร้าง แพคเกจจิ้ง (Packaging Design) 6.4 กิจกรรมการวางแผนเพื่อจัดจำหน่าย กระจายสินค้าสู่ชุมชน       การประสาน งานร่วมกับสหกรณ์ชุมชน ตำบลบ้านติ้ว จัดตั้งเพื่อจำหน่ายในโรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ชมรมแม่บ้านและแหล่งที่มีอยู่ในชุมชน และนอกชุมชน 7. ผลการดำเนินงาน   7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ 1) การฝึกสร้างผลิตภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพกีฬา และนันทนาการ เพื่อจัดจำหน่าย   2) การสร้างองค์ความรู้ ทบทวนกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น                   3) มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์   คน             ผลิต ภัณฑ์                     แห่ง                                                 1) ปฏิบัติ กิจกรรมการ สร้างผลิตภัณฑ์           2) ฝึกปฏิบัติ การสร้างผลิตภัณฑ์ตาม รูปแบบ                 3) จัดตั้งศูนย์จัดจำหน่าย สินค้าของ โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) 1) กลุ่มเป้าหมายฝึกการเป็น ผู้นำผู้ตามในการจัดกิจกรรม เพื่อ ส่งเสริมสุขภาพ กีฬา นันทนาการ     2) ได้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 ชนิด 1. กระเป๋าจากผ้ามุก 2. พวงกุญแจ 3. ดอกไม้กระดาษ (ชบา) 4. ดอกไม้กระดาษ (กุหลาบ)       3) เกิดแหล่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ สร้างขึ้นภายในโรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย)     เชิงคุณภาพ 1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ       2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10   3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ   คน         รายได้           ระดับ             1) จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ       1) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10       3) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับดี           ” 8. ผลการดำเนินงานของโครงการ    8.1 ผลผลิต (output)          1. กลุ่มเป้าหมายฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามในการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมสุขภาพ กีฬา นันทนาการ          2. ได้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 ชนิด 1. กระเป๋าจากผ้ามุก 2. พวงกุญแจ 3. ดอกไม้กระดาษ (ชบา) 4. ดอกไม้กระดาษ (กุหลาบ           3. เกิดแหล่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นภายในโรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย)  8.2 ผลลัพธ์ (Output)          1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10          2. ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”         3. โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ได้ระบบการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนอย่างยั่งยืน         4. โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) เป็นศูนย์รวมการส่งเสริม สุขภาพ กีฬา นันทนาการ ที่มั่นคงและยั่งยืน  8.3 ผลกระทบ (Impact)         โรงเรียนสร้างสุข (ผู้สูงวัย) ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชมรมผู้สูงอายุ ที่มีเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ผ่านกระบวนการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เรียบร้อย    8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน     1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ    2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการ การพัฒนาระบบการจัดการกิจกรรมกีฬา นันทนาการและทักษะอาชีพในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ Read More »

โครงการส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับชุมชนบ้านยางสามต้น โดยใช้บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์รายงานผลการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 แหล่งงบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน 1. โครงการ ส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับชุมชนบ้านยางสามต้น โดยใช้บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)     รหัสกิจกรรม 65-102-411-01-01    ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.แขก บุญมาทัน    หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์           ประเภทโครงการ           เป้าหมายการพัฒนา 2. พื้นที่ดำเนินโครงการ    หมู่ที่ 2 บ้านยางสามต้น ต.หนองพระ อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร 3. ปัญหาของพื้นที่              บ้านยางสามต้นเป็นหมู่ที่ 2 ของต.หนองพระ อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร อาชีพประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง สวนมะม่วง สวนมะนาว ปลูกแตงโม ปลูกพริก ปลูกผัก ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง และอื่น ๆบ้านยางสามต้น หมู่ที่ 2 เป็นหมู่บ้านที่มีเส้นทางสายหลัก (กรุงเทพ- พิษณุโลก) ตัดผ่าน ทำให้การคมนาคมสะดวก เข้าถึงได้ง่าย หากแต่ลักษณะของชุมชนยังเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีรายได้ต่อปีอยู่ระหว่าง 1 หมื่น – 5 หมื่นบาท แรงงานในวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่ยังเข้าไปหางานทำในเมื่องใหญ่ ส่งผลต่อครอบครัว ที่มีลักษณะครอบครัวยากจนและครอบครัวแหว่งกลาง คือรุ่นปู่ย่าตายายอยู่กับรุ่นหลานบ้านยางสามต้นมีวัดไตรยางค์วนาราม (วัดยางสามต้น) ซึ่งถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของตำบลหนองพระ และสาธารณชน นอกจากนั้นทางวัดยังเป็นศูนย์รวมกิจกรรมกวนข้าวทิพย์ อันเป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ซึ่งจัดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ของทุกปี และต้องใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาบ้านยางสามต้น มีสถานศึกษาที่อยู่ในหมู่บ้านคือ โรงเรียนบ้านยางสามต้น ที่เป็นสถานศึกษาขนาดกลาง มีครู จำนวน 9 ท่าน (รวมผู้บริหาร) นักเรียนจำนวน 122 คน จัดการศึกษาในระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งบุคลากรของโรงเรียนมาจากต่างถิ่น                 จากสภาพชุมชนข้างต้นสรุปว่า คนในชุมชนมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ ส่วนวัดก็ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาโดยขอเรี่ยไรหรือบริจาคเงินเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมจากชาวบ้าน และโรงเรียนก็จัดการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ อย่างไรก็ตามคนในชุมชนบ้านยางสามต้นมีลักษณะเด่น คือ ทำอาหารทั้งอาหารคาว หวาน อร่อยเป็นที่ติดใจผู้คนที่ได้มีโอกาสลิ้มลอง ด้วยลักษณะเด่นนี้ผนวกกับรายได้ที่เล็กน้อย จึงยังไม่สามารถบริจาคเงินที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางศาสนาของวัดได้ คนในชุมชนบางส่วนและแม่ขาวจึงคิด กวนกระยาศารทขายเพื่อหาเงินเข้าวัด เพื่อให้วัดสามารถดำเนินกิจกรรมได้โดยไม่ต้องอาศัยเงินบริจาคของชาวบ้าน และเมื่อดำเนินการกวนกระยาสารทขายพบว่า วัดมีเงินใช้จ่ายตามกิจกรรมของวัดโดยไม่รบกวนเงินจากชาวบ้าน ดังนั้นทางวัด จึงร่วมกับผู้มีจิตสาธารณะกวนกระยาสารทขายทุกวันทางออนไลน์และออนไซด์เรื่อยมาจนปัจจุบันแม้มีการดำเนินการกวนกระยาสารทขายเพื่อลดภาระของชุมชน และวัดก็มีงบประมาณในการจัดกิจกรรม หากแต่การกวนกระยาสารทยังเป็นการกวนโดยใช้ภูมิความรู้ของคนในชุมชน ที่ถ่ายทอดให้กับผู้คนที่มีจิตสาธารณะที่ไปช่วยกวน ยังไม่มีการจัดระบบองค์ความรู้ หรือพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน หรือการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เกิดขยะที่ทางวัดต้องบริหารจัดการ การจัดทำบัญชีและการตลาดและที่สำคัญประการหนึ่งคือยังไม่มีการมีส่วนร่วมของโรงเรียนในรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้เกิดความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับชุมชนบ้านยางสามต้น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์จึงต้องการเข้าไปดำเนินการพัฒนาโดยใช้บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)โดยมีหลักคิดในการพัฒนาบ้าน และวัดเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน ดังนั้นจึงต้องพัฒนาคนในชุมชน ผลิตภัณฑ์ และสถานที่ รวมทั้งพัฒนาครูเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ กล่าวคือเป็นการพัฒนา ความรัก สามัคคีของบุคคล 3 กลุ่ม คือ บ้าน/ชุนชน วัด และโรงเรียน อันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการยกระดับรายได้ให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนจัดตั้งให้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกันของบ้าน วัด โรงเรียน ผ่านกระบวนการพัฒนาตามความต้องการของชุมชน และการประเมินตนเองทั้งก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี ยุทธศาตสร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคมและด้านการศึกษา รวมทั้งนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม BCGทั้ง 3 ด้านคือ ด้าน Bio Economy ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้าน Circular Economy ออกแบบการผลิตตั้งแต่ต้นทาง ด้าน Green Economy ลดการสร้างขยะ ซึ่งล้วนส่งผลต่อความรักสามัคคีในชุมชนอย่างยั่งยืน                จากการลงพื้นที่ ในวันที่ 28 ธันวาคม 2564 และทำการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ราย สรุปข้อมูลความต้องการทั้งในส่วนพื้นที่ของชุมชน และโรงเรียน ดังนี้       1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระยาสารทอย่างหลากหลายให้เป็นที่ต้องการของตลาด      2. การทำบัญชี      3. การยกระดับกิจกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้      4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้      5. การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยตามกรอบ PA โดยใช้แหล่งเรียนรู้ 4. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย     4.1 คนในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านยางสามต้น ต.หนองพระ อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร จำนวน 30 คน    4.2 พระสงฆ์วัดไตรยางค์วนาราม จำนวน 3 รูป    4.3 คณะครูที่จัดการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านยางสามต้น จำนวน 8 คน    4.4 นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านยางสามต้น จำนวน 10 คน 5. นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ     – 6. วิธีการดำเนินงาน     6.1 กิจกรรมรู้จักตัวตนเพื่อกำหนดทิศทางตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง           1 ) การนำเสนอผลงานและประเมินรายได้และวัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมาย          2) เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป้าหมายและออกแบบกิจกรรม           6.2 กิจกรรมเรียนรู้เพิ่มเติมแต่ง       1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระยาสารทให้เป็นที่ต้องการของตลาดและการจัดการขยะ      2) การทำบัญชี      3) การยกระดับกิจกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้      4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้      5) การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและการวิจัยตามกรอบ PA 6.3 กิจกรรมการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้       1) การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้      2) การจัดการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ 6.4 กิจกรรมการถอดบทเรียนและการกำหนดเป้าหมายร่วม     1) การถอดบทเรียนเพื่อชื่นชมความสำเร็จและระวังจุดเสี่ยง    2) การศึกษารายได้และวัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ของกลุ่มเป้าหมาย    3) การกำหนดเป้าหมายร่วมเพื่อความยั่งยืน 7. ผลการดำเนินงาน    7.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565     ไตรมาส 1 (ต.ค. – ธ.ค.64) ไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค.65) ไตรมาส 3 (เม.ย. – มิ.ย. 65) ไตรมาส 4 (ก.ค. – ก.ย. 65) แผน ผล แผน ผล แผน ผล แผน ผล เชิงปริมาณ                   1) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คน                             1) ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1) คนในชุมชน จำนวน 30 คน 2. พระสงฆ์ จำนวน 3 รูป 3. ครูในโรงเรียนบ้านยางสามต้นจำนวน 8 คน มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง     2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระยาสารทให้เป็นที่ต้องการของตลาด ผลิต ภัณฑ์         2) เรียนรู้และปฏิบัติการทำกระยาสารท   2) ได้กระยาสารทสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 สูตร ขึ้นไป       3) การทำบัญชี คน         3) อบรมการทำบัญชีครัวเรือน 3) คนในชุมชนได้มีบัญชีรายรับ  รายจ่ายในครัวเรือน     4) การยกระดับกิจกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แห่ง         4) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบแหล่งเรียนรู้ 4) ชุมชนได้แหล่งเรียนรู้ จำนวน 1 แห่ง     5) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ รูป แบบ         5) ปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยตามกรอบ PA 5) ครูมีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้     เชิงคุณภาพ                 ” 1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ คน         1) จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 1) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80     2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10   รายได้         2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2) รายได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10     3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ระดับ           3) ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) จากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 3) ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) อยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข     8. ผลการดำเนินงานของโครงการ     8.1 ผลผลิต (output)           1. เกิดกระยาสารทสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 สูตร ขึ้นไป          2. เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 1 แห่ง           3. เกิดรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิจัยตามกรอบ PA เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้     8.2 ผลลัพธ์ (Output)          1. รายได้ของครัวเรือนในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10         2.  ความสุขมวลรวมชุมชน (GVH) ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ “อยู่เย็นเป็นสุข”         3. มีต้นแบบ/รูปแบบ/วิธีการส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชน วัดและโรงเรียนในระดับหมู่บ้าน     8.3 ผลกระทบ (Impact)          1. ครูมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้และได้รับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง         2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ และเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน     8.4 การประเมินผล 9. วิธีที่ใช้ในการประเมิน     1. แบบประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GVH)ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ    2. แบบสำรวจรายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 10. ปัญหาและอุปสรรค      – 11. ข้อเสนอแนะ      –

โครงการส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับชุมชนบ้านยางสามต้น โดยใช้บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) Read More »